เพชร CVD เพชรที่ได้รับความนิยมไม่แพ้เพชรธรรมชาติ เพราะสวยงาม และมีคุณสมบัติไม่ต่างกัน แต่ราคาจับต้องได้มากกว่า จึงไม่น่าแปลกใจหากเพชร CVD จะกลายมาเป็นหนึ่งในตัวเลือกอันดับต้น ๆ เวลามองหาแหวนหมั้น หรือเครื่องประดับหรูสักชิ้น วันนี้ KOS จะมาแนะนำทุกท่านให้รู้จักกับเพชร CVD กันครับ
เพชร CVD คืออะไร ?
เพชร CVD คือเพชรที่มนุษย์สร้างขึ้นในห้องแล็บ หรือเรียกโดยรวมว่า Laboratory-Grown Diamond ซึ่งเพชร CVD ย่อมาจาก Chemical Vapor Deposition
วิธี CVD เป็นเทคนิคสมัยใหม่ที่ใช้แรงดันและอุณหภูมิต่ำกว่าในการสร้างเพชร แทนที่จะจำลองสภาวะภายในโลก กระบวนการนี้จะสร้างเพชรในห้องปฏิกิริยาพลาสมา
กระบวนการ:
- เมล็ดเพชรธรรมชาติ (Natural diamond seed) ถูกวางในเครื่องที่มีแก๊สคาร์บอน เช่น แก๊สมีเทน (เครื่องในรูปข้างบน)
- แก๊สจะถูกให้ความร้อนจนกลายเป็นสถานะพลาสมา ทำให้โมเลกุลของคาร์บอนแตกตัว
- อะตอมของคาร์บอนเริ่มตกผลึกบนเมล็ดเพชรและเติบโตขึ้นเป็นเพชรทีละชั้น
- เมื่อเพชรเติบโตจนมีขนาดที่ต้องการ จะนำออกมาตัดและเจียระไน
ระยะเวลา:
กระบวนการ CVD มักใช้เวลานานกว่า HPHT โดยอาจใช้เวลาหลายสัปดาห์ถึงหนึ่งเดือนในการเติบโตเพชร แต่กระบวนการนี้ช่วยให้สามารถควบคุมการเติบโตของเพชรได้ดีขึ้น ทำให้สามารถสร้างเพชรที่มีขนาดใหญ่และคุณภาพสูงกว่าได้
กระบวนการหลังการเติบโต:
เมื่อเพชรเติบโตเสร็จแล้ว จะต้องผ่านขั้นตอนต่าง ๆ เพื่อเปลี่ยนเป็นอัญมณีที่งดงาม
- การตัดและการเจียระไน: เหมือนกับเพชรธรรมชาติ เพชรสังเคราะห์ต้องถูกตัดและเจียระไนเพื่อเพิ่มความประกายและรูปร่างที่สวยงาม
- การประเมินคุณภาพ: หลังจากการเจียระไน เพชรจะถูกส่งไปยังห้องปฏิบัติการเพื่อประเมินคุณภาพตามหลัก 4Cs ได้แก่ การเจียระไน (Cut), สี (Color), ความใส (Clarity), และน้ำหนักกะรัต (Carat) เหมือนกับเพชรธรรมชาติ
เพชร CVD เป็นเพชรแท้หรือไม่ ?
ถึงแม้เพชร CVD จะผลิตขึ้นภายในห้องแล็บโดยฝีมือของมนุษย์ แต่มีคุณสมบัติแทบไม่ต่างจากเพชรแท้ เพราะเกิดจากคาร์บอนไดออกไซด์เฉกเช่นเพชรธรรมชาติ ถ้าหากนำเพชร CVD มาเทียบกับเพชรธรรมชาติด้วยตาเปล่า ก็ยากที่จะระบุความแตกต่าง แม้กระทั่งเซียนเพชรยังต้องอาศัยเวลา หรือเครื่องมือเฉพาะทางในการจำแนกความแตกต่างของเพชรทั้ง 2 ชนิด
เพชร CVD กับ โมอีส ต่างกันอย่างไร ?
เพชร CVD ไม่ใช่โมอีส เพราะโมอีส หรือ โมซาไนต์ (Moissanite) คือเพชรเลียนแบบที่ผลิตจากซิลิคอนคาร์ไบด์ (Silicon Carbide) ถึงแม้ดูผิวเผินจะคล้ายเพชรธรรมชาติ และแวววาวกว่า แต่คุณสมบัติทางเคมีด้อยกว่า และต่างกันโดยสิ้นเชิง โดยเฉพาะประกายไฟที่เป็นเอกลักษณ์ของเพชรแท้ หากเป็นโมอีสจะสะท้อนเป็นสีรุ้ง ในขณะที่เพชรจะเป็นแสงขาว
ฉะนั้น โมอีสจึงไม่นับเป็นเพชรแต่อย่างใด และแตกต่างจากเพชร CVD 100% เพราะเพชร CVD เกิดจากคาร์บอนไดออกไซด์ จึงมีคุณสมบัติทางเคมีที่ไม่ต่างจากเพชรธรรมชาติ
เพชร CVD vs hpht?
เพชร CVD จะตรวจแล้วขึ้นว่า ‘Diamond’
เพชร HPHT จะตรวจแล้วขึ้นว่า ‘Moissanite’
องค์ประกอบของเพชร CVD
เพชร CVD ถูกสร้างขึ้นโดยกระบวนการที่แตกต่าง โดยใช้การตกตะกอนของอะตอมคาร์บอนจากแก๊สในห้องสุญญากาศ ซึ่งนำไปสู่ความแตกต่างในองค์ประกอบดังนี้:
สิ่งเจือปน: เพชร CVD มักมีสิ่งเจือปนน้อยกว่าเพชร HPHT เนื่องจากกระบวนการ CVD ไม่ใช้ตัวเร่งโลหะ อย่างไรก็ตาม อาจมีสิ่งเจือปนของกราไฟท์หรือคาร์บอน ซึ่งสามารถส่งผลต่อความใสของเพชร
การมีไนโตรเจน: เพชร CVD มักถูกสร้างในสภาวะที่มีไนโตรเจนต่ำมาก ส่งผลให้มีความบริสุทธิ์สูงกว่าเพชร HPHT ดังนั้น เพชร CVD มักจะใสหรือไร้สีโดยไม่ต้องการการปรับสภาพเพิ่มเติม
โครงสร้างผลึก: เพชร CVD มีโครงสร้างการเติบโตเป็นชั้น ๆ ซึ่งแตกต่างจากโครงสร้างลูกบาศก์หรือแปดหน้ามุมของเพชร HPHT
สี: เพชร CVD มักจะใสหรือไร้สี แต่บางครั้งอาจมีการปรับสภาพหลังจากการเติบโตเพื่อเพิ่มสี โครงสร้างการเติบโตเป็นชั้น ๆ อาจทำให้เกิดการแปรปรวนของสีในบางพื้นที่ของเพชร
องค์ประกอบของเพชร HPHT
เพชร HPHT เติบโตภายใต้สภาวะที่เลียนแบบกระบวนการก่อตัวของเพชรธรรมชาติในชั้นลึกของโลก ลักษณะสำคัญของเพชร HPHT ได้แก่:
สิ่งเจือปน: เพชร HPHT มักมีสิ่งเจือปนของโลหะ เช่น นิกเกิล โคบอลต์ หรือเหล็ก เนื่องจากมีการใช้ตัวทำละลายโลหะในกระบวนการเจริญเติบโต โลหะเหล่านี้ช่วยในการละลายคาร์บอนเพื่อให้มันตกผลึกเป็นเพชร
การมีไนโตรเจน: เพชร HPHT มักมีไนโตรเจนในปริมาณเล็กน้อย ซึ่งทำให้เพชรมีสีเหลืองหรือสีน้ำตาล อย่างไรก็ตาม ไนโตรเจนสามารถถูกกำจัดหรือลดลงได้ด้วยการปรับสภาพ ทำให้ได้เพชรไร้สี
โครงสร้างผลึก: เพชร HPHT มักมีโครงสร้างการเจริญเติบโตแบบลูกบาศก์หรือแปดหน้ามุม (octahedral) ซึ่งคล้ายกับเพชรธรรมชาติ ทำให้มีรูปร่างของเพชรแบบดั้งเดิม
สี: เพชร HPHT อาจมีสีหลากหลาย ขึ้นอยู่กับกระบวนการเติบโตและการปรับสภาพ สีที่พบบ่อยได้แก่ สีเหลืองและสีฟ้า โดยสีเหลืองเกิดจากสิ่งเจือปนของไนโตรเจนและสีฟ้าจากโบรอน
ลักษณะ | เพชร HPHT | เพชร CVD |
---|---|---|
สิ่งเจือปน | สิ่งเจือปนของโลหะ (นิกเกิล, โคบอลต์, เหล็ก) | สิ่งเจือปนโลหะน้อยกว่า อาจมีกราไฟท์ |
ไนโตรเจน | มีไนโตรเจนสูง ทำให้เกิดสีเหลืองหรือน้ำตาล | มีไนโตรเจนต่ำ ทำให้มีความบริสุทธิ์สูง |
โครงสร้างผลึก | โครงสร้างลูกบาศก์หรือแปดหน้ามุม | โครงสร้างการเติบโตเป็นชั้น ๆ |
สี | สีเหลือง (จากไนโตรเจน) หรือสีฟ้า (จากโบรอน) | ส่วนใหญ่จะใสหรือไร้สี อาจมีการแปรปรวนของสี |
ความแตกต่างหลักๆ ระหว่าง CVD และ HPHT คือ เวลาตรวจด้วยเครื่องจี้เพชร (Presidium) CVD จะขึ้นว่า ‘Diamond’ ในขณะที่ HPHT จะขึ้นว่า ‘Moissanite’
เพชร CVD ราคาเท่าไหร่ ?
เพชร CVD 1 กะรัต ทรงกลม สี F (น้ำ 98) ที่คุณภาพการเจียระไรดีเยี่ยม ราคาเริ่มต้นราว 15,000.- บาท ขึ้นไป ต่างจากเพชรธรรมชาติ ที่เริ่มต้นตั้งแต่ 200,000.- บาทขึ้นไป ในขณะที่เพชร CVD 2 กะรัต ราคาเริ่มต้น 35,000.- บาท แต่เพชรธรรมชาติราคาเริ่มต้นที่ 500,000 บาทขึ้นไป
เพชร CVD และ เพชรธรรมชาติ ซื้อเพชรแบบไหนดีกว่า ?
จะเพชร CVD หรือเพชรธรรมชาติ ก็ขึ้นอยู่กับการดุลยพินิจและความต้องการ เพราะเพชรทั้งสองชนิด ถือเป็นเพชรแท้ด้วยกันทั้งคู่ แต่เพชร CVD จะช่วยประหยัดงบในกระเป๋าได้มากกว่า เพราะราคาจับต้องได้ แต่มีความแข็งแรงไม่และเล่นแสงได้ดีไม่แพ้เพชรธรรมชาติ
เพชรสังเคราะห์: ทางเลือกที่เร็วและมีจริยธรรม
ในขณะที่เพชรธรรมชาติใช้เวลานับล้านปีในการก่อตัว เพชรสังเคราะห์เป็นทางเลือกที่เร็วกว่าและสามารถควบคุมได้ ในเวลาเพียงไม่กี่เดือน เพชรเหล่านี้สามารถเติบโต ถูกตัด และพร้อมที่จะนำไปทำเป็นเครื่องประดับได้โดยไม่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและจริยธรรมเหมือนกับการขุดเพชร
หากคุณกำลังมองหาเพชร CVD เพชรแล็บคุณภาพดี ราคาจับต้องได้ ที่มีคุณสมบัติเหมือนเพชรธรรมชาติ ได้มาตรฐาน พร้อมใบรับรอง GIA และ IGI กำกับคุณภาพ พร้อมปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านอัญมณีศาสตร์ ต้อง KOS Jewelry Thailand เท่านั้น