หลักการ 4Cs ที่ถูกต้อง (Carat, color, clarity, cut)
1. Carat
กะรัตคือหน่วยวัดขนาดและน้ำหนักของเพชร เพชรขนาด 1 กะรัต จะเท่ากับ 100 ตังค์ โดยมีเส้นผ่าศูนย์กลาง 6.5 มิลลิเมตร หนักประมาณ 200 มิลลิกรัม ซึ่งเพชรขนาดยิ่งใหญ่ ยิ่งหายาก และยิ่งมีมูลค่าสูง โดยปกติแล้ว เพชรขนาดใหญ่ขึ้นสองเท่า ราคาต่อกะรัตจะเพิ่มขึ้นมากกว่าสองเท่าค่ะ เช่น เพชรขนาด 1 กะรัต 1 เม็ด จะมีราคาสูงกว่าเพชรครึ่งกะรัตคุณภาพเดียวกันสองเม็ดค่ะ ขนาดของเพชร (Carat) ถือว่าเป็นปัจจัยที่สามารถเห็นความแตกต่างได้ชัดเจนที่สุดด้วยตา เราสามารถเห็นความแตกต่างระหว่างเพชรขนาด 40 ตังค์ กับ 30 ตังค์ได้อย่างชัดเจน และแยกแยะได้อย่างง่ายดายค่ะ
ในการเลือกขนาดสำหรับเพชรเม็ดเดี่ยว lab-grown นั้น เราแนะนำให้เริ่มต้นตั้งแต่ 1 กะรัตขึ้นไป แต่ถ้าสำหรับแหวนเพชรรอบนิ้วหรือแหวนแถวใส่เล่นก็สามารถเริ่มต้นได้ตั้งแต่ขนาดเม็ดละ 5 ตังค์ขึ้นไปค่ะ จึงจะเห็นความต่างของราคาจากเพชรธรรมชาติได้ชัด
ลองดูบนนิ้วจริงกันนะค่ะ
Color (สี) หรือที่คนไทย เรียกว่า ‘น้ำ’เป็นตัววัดความขาวใสของเพชร ซึ่งเพชรที่ใสไร้สีมากที่สุดคือเพชรที่ดีที่สุดค่ะ สถาบันอัญมณีได้จำแนกเฉดสีของเพชร D-Z โดยสีสูงสุด เริ่มที่สี D (น้ำ 100) ไล่ไปเรื่อยๆ เช่น E, F, G, H, I, … (99, 98, 97, 96, 95, …) ซึ่งเพชรน้ำยิ่งสูงก็จะยิ่งขาวและไม่มีสีเหลืองเจือปน ซึ่งทำให้ราคานั้นย่อมแพงตามลำดับ จาก D-Z เราสามารถแยกกลุ่มสีเพชรออกเป็น 5 กลุ่มหลักๆ ตามรูปค่ะ
วันนี้เรานำเคล็ดลับเล็กๆ มาฝากเพื่อนๆทุกคนด้วยนะค่ะ วิธีการเช็คความขาวใสของเพชรอย่างง่ายๆ สามารถทำได้ด้วยตัวเอง ให้คว่ำเพชรลงบนกระดาษขาว (Face-down view) และดูสีที่ตรงกลางเพชรค่ะ สังเกตดูซิว่ามีสีเหลืองมากน้อยเพียงใด เสร็จแล้วให้หงายเพชรขึ้นแล้วสังเกตความเข้มของสีเช่นกัน (Face-up view)
D-F สีจะขาวใส ทั่วทั้งเพชรทั้ง Face-down และ Face-up view โดยที่สี F นั้นถ้าจ้องนานๆ ใน Face-down view จะสังเกตเห็นถึงความเหลืองได้เล็กน้อย แต่น้อยมากๆ
G-J เพชรจะมีติดเหลืองเล็กน้อย ใน Face-down แต่ยังคงความขาวใส เหมือน D-F ใน Face-up view
K-M สามารถสังเกตเห็นความเหลืองได้อย่างชัดเจนใน Face-down และเหลืองเล็กน้อยใน Face-up
N and below สามารถสังเกตเห็นความเหลืองได้อย่างชัดเจนทั้ง Face-down และ Face-up view
สำหรับเพชรแลป เราแนะนำให้เลือกใช้สี E และ F color.
ทำไมไม่ D color? เนื่องจากสีจะได้ไม่ขาวจนเกินไป แล้วทำไมไม่ G color or below? เพราะราคาไม่ต่างกันเท่าไหร่ (ไม่ถึง 10%)
3. Clarity
ความสะอาด บ่งบอกถึงตำหนิ (Inclusion) ทั้งภายในและภายนอกเพชรซึ่งเพชรที่ไม่มีตำหนิหรือมีตำหนิน้อยที่สุดคือเพชรที่ดีที่สุด สถาบันอัญมณีจะใช้กล้องขยาย 10-30 เท่าในการหาตำหนิในเนื้อเพชร และเกรดความสะอาดของเพชรตามมาตรฐานดังนี้
- FL-IF (Flawless-Internal Flawless) – Flawless คือเกรดที่เพอร์เฟคที่สุด เป็นเพชรไร้ที่ติ ไม่มีตำหนิเลยทั้งภายในและภายนอก (ส่วนใหญ่จะพบเจอในเพชรเม็ดใหญ่ และสี D เท่านั้น) ในขณะที่ IF ก็ถือว่าเป็นเกรดที่ดีมากมาก ไร้ตำหนิเช่นกัน คือเพชรที่ไม่มีตำหนิภายในเนื้อเพชรเลย แต่อาจจะมีตำหนิบ้างเล็กน้อยในภายนอก (เล็กมากๆๆๆ) เมื่อมองภายใต้กล้อง 30 เท่า
- VVS1- VVS2 (Very Very Slightly Included 1-2) – เพชรมีตำหนิ หรือมลทินขนาด เล็กมากๆ เมื่อมองภายใต้กล้องกำลังขยาย 30 เท่า ไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า และหายากมากๆ เมื่อมองด้วยกล้อง 10 เท่า ถึงขนาดที่ผู้ชำนาญการอาจต้องใช้เวลาพอสมควรในการค้นหา
- VS1-2 (Very Slightly Included 1-2) – เพชรมีตำหนิ หรือมลทินขนาด เล็กมาก เมื่อใช้กล้องขยาย 10 เท่า และไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า สำหรับคนที่ไม่เชี่ยวชาญการใช้กล้องอาจหาไม่พบด้วยซ้ำไป เพชรคุุณภาพนี้ถือว่าเป็นเพชรเกรดที่คุ้มค่าที่สุดเพราะมลทินมีขนาดเล็กมาก ไม่มีผลต่อความสวยงามใดๆของเพชร และราคาย่อมเยาว์กว่าเพชร IF และ VVS พอสมควรค่ะ
- SI1-2 (Slightly Included 1-2) – เพชรมีตำหนิ หรือมลทินขนาด เล็ก เห็นชัดเมื่อใช้กล้องขยาย 10 เท่า และในบางจุดสามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า
- I1-3 (Imperfect 1-3) – เพชรมีตำหนิหรือมลทินขนาดใหญ่ ซึ่งสามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า เพชรคุณภาพนี้บางเม็ดที่มีตำหนิ หรือรอยแตก ร้าว ขนาดใหญ่ อาจมีผลต่อความแข็งแรง ทนทานของเพชรโดยรวม แนะนำว่าให้หลีกเลี่ยงดีกว่าค่ะ
สำหรับเพชรแลปโกลเราแนะนำให้เลือกใช้เกรดช่วง VVS2-VS1 เนื่องจากเป็น sweet spot เป็นเกรดที่มีความคุ้มค่ามากที่สุด เพชรอยู่ในระดับที่สะอาดมากที่ต้องใช้กล้องขยาย 10 เท่าขึ้นไป ตำหนิจะไม่บดบังประกายไฟสะท้อน และถ้าขยับเป็น VVS1 ราคาจะโดดค่อนข้างมาก
การเจียระไนถือเป็นปัจจัยที่มีความสำคัญมากที่สุดอันดับหนึ่ง ซึ่งมีผลโดยตรงต่อความสวยงามของเพชรค่ะ เพราะคุณภาพการเจียระไนจะกระทบไฟ (Fire), การสะท้อนแสง (Light Return), ประกาย (Brilliancy) และ ความระยิบระยับ (Scintillation) ของเพชร เพชรที่ผ่านการเจียระไนแล้วมีสัดส่วน (Proportion) ที่สวยงาม และผ่านการขัดเงา (Polish) ที่ดี จะมีการสะท้อนแสง ไฟ ประกาย และความระยิบระยับที่ดี
เราสามารถสังเกตคุณภาพการเจียระไนได้ในใบเซอร์ ที่ Cut grade, Polish, Symmetry โดยที่ Excellent คือดีที่สุด รองลงมาคือ Very good, Good, Fair, Poor ตามลำดับ
ใบเซอร์คืออะไร และอ่านอย่างไร
ใบเซอร์ หรือ Certificate คือสิ่งสำคัญอันดับต้นๆ ในการซื้อเพชร เพราะเป็นใบที่ใช้รับรองคุณภาพของเพชร เปรียบเสมือนใบรับประกันก็ว่าได้ ซึ่งใบเซอร์เพชรนี้ออกให้โดยสถาบันอัญมณี เช่น GIA, HRD, IGI ที่เป็นบุคคลที่ตรวจสอบคุณภาพเพชรที่มีห้องปฏิบัติการตรวจสอบเพชรโดยผู้เชี่ยวชาญเท่านั้น ดังนั้นหากเราซื้อเพชรและได้เพชรมาพร้อมกับใบเซอร์ก็มั่นใจได้เลยว่าเพชรที่ซื้อมานั้นเป็นเพชรแท้แน่นอน
ใบเซอร์ที่เรานำมาเป็นตัวอย่างต่อไปนี้คือใบเซอร์ GIA ทีนี้มาดูวิธีการอ่านใบเซอร์ในรูปต่อๆ ไปกันเลยค่ะ
#1: สถาบันที่ออกใบเซอร์นี้ เช่น GIA, HRD, IGI …
#2: วันที่ออกใบเซอร์
#3: หมายเลข report ให้ถือว่าเสมือนเป็นเลขบัตรประจำประชาชน ตอนซื้อเพชรให้ใช้กล้องตรวจสอบว่าเลขบนขอบเพชรนั้นตรงกันกับเลข report นี้ เพื่อให้มั่นใจว่าเพชรที่เราซื้อคือเม็ดเดียวกันกับเม็ดบนในเซอร์ นอกจากนี้คุณยังสามารถเช็คได้อีกว่าใบเซอร์นี้ของแท้หรือไม่ โดยไปที่ http://www.gia.edu/report-check-landing
#4: รูปทรง และรูปแบบการเจียระไนเพชรเม็ดนั้น
#5: ขนาดความกว้างและลึก (หน่วยเป็นมิลลิเมตร) สองตัวแรกคือเส้นผ่าศูนย์กลางที่สั้นที่สุด-ยาวที่สุด ตัวสุดท้ายคือความลึกจากหน้าถึงก้นเพชร
#6: น้ำหนักของเพชร
#7: สีของเพชร โดยเกรดจาก D-Z
#8: ความสะอาดของเพชร โดยเกรดจาก FL-I3
#9: เกรดคุณภาพของการเจียระไน โดยเกรดจาก Excellent-Poor
#10: เกรดคุณภาพของการขัดเงาหลังจากการเจียระไน (ความเนียนของพื้นผิว) โดยเกรดจาก Excellent-Poor
#11: เกรดความสมมาตรของเพชร ซึ่งความผิดปกติของการเจียรนัยจะทำให้ความไม่สมมาตร และมีผลต่อการสะท้อนของแสงได้ โดยเกรดจาก Excellent-Poor
#12: การเรืองแสงของเพชร โดยเกรดจาก None-Very Strong
#13: ระบุถึงข้อความเพิ่มเติมในขอบเพชร (Girdle) โดยอาจเป็นข้อความที่มีอยู่แล้ว หรือข้อความที่ให้สลักเพิ่ม แต่ที่ต้องมีแน่ๆ คือหมายเลข report ตามข้อ 3
#14: หมายเหตุเพิ่มเติมระบุคุณลักษณะอื่นๆ เพิ่มเติมที่ควรทราบ ที่ไม่ได้แสดงในส่วนอื่นๆ ของใบเซอร์
#15: แสดงสัดส่วนจริงของเพชรเม็ดนี้เป็นตัวเลข % และองศา ซึ่งส่วนนี้จะส่งผลโดยตรงกับ การประเมินในข้อ 9, 10, 11
#16: ภาพจำลองที่ระบุขนาด ประเภท และตำแหน่งของตำหนิ (size, type, location) แสดงรายละเอียดขยายความของข้อ 8
#17: สเกลของสี ความสะอาด และคุณภาพของการเจียระไนโดยจะเรียงจากคุณภาพสูงที่สุดไปยังต่ำที่สุด
ราคากลางเพชร + การประเมินราคาเพชรอย่างคร่าวๆ
หลังจากที่เราได้พูดถึงคุณลักษณะพื้นฐานของเพชรไปก่อนหน้านี้แล้ว ทุกคนคงมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับเพชรเพิ่มมากขึ้นไม่มากก็น้อยใช่มั้ยค่ะ? แต่ admin ก็ยังคงเชื่อว่าบางท่านก็ยังคงไม่แน่ใจว่าเราจะเลือกเพชรกี่กะรัต สีเท่าไหร่ ความสะอาดแค่ไหนดี ถึงจะเหมาะกับเรา เพียงแต่รู้ว่าเราอยากได้เพชรที่ดีที่สุด สวยที่สุด ภายในงบที่เรามี หรือ ‘Value for Money’ นั่นเอง
เพราะฉะนั้นในบทความนี้เราจะมาบอกวิธีการประเมินราคาเพชรเบื้องต้น ให้เพื่อนๆทุกคนได้นำไปคิดกันคร่าวๆ ว่าคุณภาพเพชรที่เราสามารถซื้อได้ภายในงบของเรานั้นจะดีมากน้อยแค่ไหนนะค่ะ
ก่อนอื่นเลย admin ต้องขอบอกก่อนว่าราคาดังกล่าวที่เรากำลังจะพูดถึงนั้นเป็นเพียงราคากลางเพชรเท่านั้น ซึ่งราคาขายปลีกจริงของเพชรนั้นอาจสูงหรือต่ำกว่าก็เป็นได้ (+/- 10-15%) เนื่องจากราคาดังกล่าวอ้างอิงเพียง 3 ปัจจัยเท่านั้น (Carat, Color, Clarity) ไม่ได้คำนึงถึงปัจจัยอื่นๆ ซึ่งยากที่จะนำมาคิดเป็นราคากลางได้ แต่ล้วนกระทบส่วนลด และราคาขายสุดท้าย เช่น Fluorescence, Certificate, Proportion ฯลฯ ทั้งนี้ทั้งนั้นส่วนลดที่เพื่อนๆ จะได้ก็จะขึ้นอยู่กับนโยบายและความสามารถในการ sourcing เพชรของแต่ละร้านด้วยนะค่ะ ร้านที่มีความสัมพันธ์ดีกับ supplier นั้นย่อมหาเพชรคุณภาพดีในราคาที่ต่ำกว่าร้านอื่น (เรื่องนี้เราการันตีความคุ้มค่าให้เพื่อนๆ ทุกคนแน่นอนค่ะ)
วิธีคำนวณราคากลางของเพชร (ใช้ได้ทั้ง NAtural และ lab-grown diamond)
สำหรับการประเมินราคาเบื้องต้นนั้น เพื่อนๆทุกคนสามารถทำได้เองโดยดูจากใบแรพพาพอร์ต ‘Rapaport’ (ใบราคากลางเพชร) ที่ผู้ขายทั่วโลกเค้าใช้กันในการเริ่มคิดคำนวณราคาขาย โดยให้สังเกตตามดังนี้
- เลือก Rapaport ล่าสุด โดยดูวันที่ของ Rapaport ว่าอัพเดทเมื่อไหร่ ราคาเพชรไม่ได้มีการอัพเดททุกวัน ปกติจะมีการอัพเดททุกๆ สัปดาห์ (ตัวอย่างนี้คือฉบับปี 2010) และไม่สามารถอัพเดทได้ตามออนไลน์นะค่ะ ต้องเป็นสมาชิกกับทางสถาบันเท่านั้น
- เลือก Rapaport ให้ถูกใบ ตาม shape ของเพชรที่ต้องการ ซึ่งโดยปรกติแล้วจะมีเพียง 2 ใบ สำหรับเพชรกลมและเพชรรูปร่างแฟนซี (รูปร่างอื่นๆ เช่น รูปหยดน้ำ รูปหัวใจ เป็นต้น) ซึ่งจะใช้ราคาคนละแผ่นกัน เราจะรู้ได้อย่างไรว่าเพชรเม็ดนี้จะอยู่ในกลุ่มไหน ก็ง่ายๆ ค่ะ คว่ำเพชรลงบนกระดาษดูเส้นรอบรูป ถ้าเป็นรูปกลมก็ดูตารางราคาเพชรกลม โดยใน Rapaport จะบอกไว้ตรงที่วง 2 อย่าดูผิดแผ่นนะค่ะ เพราะราคาเพชรแฟนซีถูกกว่าเสมอ
- เลือกตารางราคา โดยเลือกตามขนาดของเพชรที่เราต้องการดู เช่น เพชร 1.8 กะรัต ให้ดูราคาที่ช่อง 1.50- 1.99 cts เป็นต้น
- พอเลือกตารางได้แล้ว ด้านซ้ายคือสี ด้านบนคือความสะอาด ดูตัวเลขที่สีและความสะอาดชี้ตรงกัน
- เลือก Rapaport ล่าสุด โดยดูวันที่ของ Rapaport ว่าอัพเดทเมื่อไหร่ ราคาเพชรไม่ได้มีการอัพเดททุกวัน ปกติจะมีการอัพเดททุกๆ สัปดาห์ (ตัวอย่างนี้คือฉบับปี 2010) และไม่สามารถอัพเดทได้ตามออนไลน์นะค่ะ ต้องเป็นสมาชิกกับทางสถาบันเท่านั้น
พอได้ตัวเลขมาก็ให้
- เติม 00 (คูณ 100) เพราะตัวเลขนี้เค้าย่อไว้
- คูณน้ำหนักกะรัต เพราะตัวเลขนี้เป็นเพียงราคาต่อ 1 กะรัต
- คูณอัตราแลกเปลี่ยน เพราะตัวเลขนี้มีหน่วยเป็น US$
- เติม 00 (คูณ 100) เพราะตัวเลขนี้เค้าย่อไว้
ยกตัวอย่าง เพชร 1.1 กะรัต G VVS2 ตัวเลขที่ได้คือ 95
ราคาเพชรกลาง Natural diamond คือ 95*100*1.1*35 = 365,750 บาท
โดยราคาขายของเพชรธรรมชาติส่วนใหญ่จะส่วนลดประมาณ 30-50% จากราคากลางดังกล่าว ในขณะที่ราคาขายของเพชรแลปจะมีส่วนลดประมาณ 80-90% จากราคากลางค่ะ
Fluorescence
ซึ่งการเรืองแสงนี้สามารถทดสอบโดยการนำเพชรไปอยู่ภายให้หลอด Backlight (แสงเหนือม่วง) โดยเพชรที่ผ่านการประเมินจาก GIA ทั้งหมดมีเพียง 25 ถึง 30 เปอร์เซนต์ทีมีการเรืองแสง โดยการเรืองแสงของเพชรอาจทำให้เพชรดูมีสีขาวขึ้นในกว่าเพชรที่ไม่มี่การเรืองแสง และการเรืองแสงที่พบส่วนมากจะเป็นสีฟ้า ส่วนที่เคยพบก็จะมีสีส้ม สีเขียว สีเหลือง สีขาว
ไม่มีฟลูออเรสเซนส์ นั้นหมายถึงว่าการตรวจเพชรภายใต้แสงเหนือม่วงไม่แสดงผล ส่วนนี้ ถ้ามีเป็น Faint medium หรือ Strong จะทำให้ราคาตกลงตามลำดับ ถ้าเลือกได้ไม่มีดีกว่าค่ะ
แนะนำ None fluorescence เท่านั้นไม่ว่าจะเป็นเพชรธรรมชาติหรือเพชรแลปโกล